ดับเบิ้ล ลีฟวิ่ง ส่งมอบพื้นมาแล้ว มากกว่า 500,000 ตร.ม.

พื้นไม้ปูพื้นบ้าน 3 ประเภทยอดนิยม ต่างกันอย่างไร? เลือกแบบไหนดี?

กระเบื้องยาง SPC (ซ้าย) กระเบื้องยาง (กลาง) พื้นไม้ลามิเนต(ขวา)

ในปัจจุบันพื้นไม้ปูพื้นบ้านกำลังเป็นที่นิยมมากในประเทศไทยซึ่งพื้นลายไม้ที่นิยมนั้นมีอยู่สามประเภทดังที่กล่าวมาคือ กระเบื้องยาง SPC, กระเบื้องยาง และ พื้นไม้ลามิเนต เนื่องจากพื้นไม้ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นมีโครงสร้างที่ทุกอย่างที่เหมือนกันต่างกันที่ชั้น Rigid core(ชั้นแกนโครงสร้าง) ซึ่งจะมีการใช้วัตถุดิบและส่วนผสมที่แตกต่างกันไปดังนี้

UV Coating : ชั้นป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเลท

Wear Layer : ชั้นป้องกันการสึกหรอ มีขนาด 0.3 mm และ 0.5 mm

แผ่นฟิล์มเคลือบผิวหน้าไม้ป้องกันความชื้น แบคทีเรีย สิ่งสกปรก และรอยขีดข่วน ทำความสะอาดง่าย

Printed Vinyl Layer : ชั้นฟิล์มลายไม้

ออกแบบเสมือนจริง สีสันสวยงาม กันน้ำ ทนทาน

Rigid Core : ชั้นโครงสร้าง SPC มีความหนา 4 mm และ 6 mm

ผลิตจากแคลเซียมคาร์บอเนตผสม PVC มาพร้อมกับระบบคลิกล็อค แข็งแรง ติดตั้งง่าย

Backing Layer : พื้นแผ่นรองด้านหลังตาข่าย

ช่วยซับเสียงและเพิ่มความนุ่มนวล สำหรับการเดินบนพื้น

IXPE Padding : แผ่นโฟม IXPE มีความหนา 1.5 mm และ 2.0 mm

แผ่นโฟมรองพื้นด้านหลัง ช่วยให้ติดตั้งได้ทันที ไม่ต้องรองโฟมเพิ่ม สะดวกรวดเร็ว และซับเสียงได้ดีกว่า

พอเราดูจากชั้นโครงสร้างแล้วก็พอจะพิจารณาออกกันหรือยังครับ? ถ้ายังเรามาพิจารณาเป็นตัวๆก่อน ขั้นแรก พื้นไม้ลามิเนตที่มีโครงสร้างเป็นผงไม้ แน่นอนว่าเป็นพื้นแบบเดียวที่มีส่วนประกอบของไม้ต่างจากกระเบื้องไวนิลเอสพีซีและกระเบื้องยาง ซึ่งโครงสร้างที่มีส่วนประกอบของไม้จะมีปัญหาของการโดนปลวกกินอย่างแน่นอน อีกทั้งยังมีโอกาสที่ไม้บวมน้ำง่ายมากอีกด้วย แต่เนื่องจากทำมาจากวัสดุเหลือใช้จากโรงไม้ทำให้มีราคาถูกกว่า

ปัญหาของพื้นไม้ลามิเนต บวมน้ำ(ซ้าย) ปลวกกิน(ขวา)

ส่วนกระเบื้องไวนิลเอสพีซี และกระเบื้องยาง ที่ไม่มีส่วนผสมของไม้เลยนั้นก็หมดกังวลเรื่องปลวก,น้ำ และความชื้นไปได้เลย ส่วนข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนหากเทียบคุณภาพของกระเบื้องทั้งสองแบบนั้น คือเรื่องการหดตัวจากอุณหภูมิซึ่งหากใครเคยใช้กระเบื้องยางแบบติดกาว 2 mm. จะทราบดีว่า จะพบปัญหาเมื่อใช้ไปแล้วสักระยะหนึ่งจะมีการหดตัวเกิดขึ้นแล้วเห็นเป็นร่องที่ไม่สนิทระหว่างกระเบื้อง ยิ่งถ้าใช้บริเวณที่โดนแสงแดดหรือความชื้นสูงบริเวณพื้นชั้นล่างอายุการใช้งานจะสั้นลงเนื่องจากกาวจะมีการเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
อาการหดตัวของกระเบื้องยางติดกาวเมื่อใช้งานไประยะหนึ่ง

ด้วยการหดตัวของกระเบื้องยางแบบติดกาว 2 mm. จึงทำให้มีการผลิตที่หนาขึ้นเพื่อเพิ่มความทนทานเป็นแบบ กระเบื้องติดกาว 3 mm. แต่เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเมืองร้อนและมีความชื้นสูงและมักใช้ในห้องแอร์ที่มักมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว จึงทำให้กระเบื้องยางและกาวที่ใช้ติดนั้นที่ก็ยังไม่สามารถทนต่อสภาพอุณหภูมิได้อยู่ดี จึงมีการผลิตให้หนาขึ้นเป็น 4 mm. และเพิ่มระบบคลิกล็อคเพื่อที่จะไม่ต้องใช้กาวเพื่อลดปัญหากาวหลุดร่อนและบวมจากความชื้นและอุณหภูมิ แต่เนื่องจากก็ยังมีปัญหาการหดตัวของกระเบื้องยางคลิกล็อคอยู่ดีเนื่องจากอุณหภูมิในห้องที่ติดแอร์ที่เปลี่ยนแปลงเร็วจึงได้มีนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้นเป็นกระเบื้องไวนิลเอสพีซีที่ใช้ส่วนผสมของซีเมนต์เข้ามาเพื่อลดการยืดและหดตัวและใช้พีวีซีช่วยในการยืดหยุ่นและลดน้ำหนักของวัสดุ แต่ข้อเสียของกระเบื้องเอสพีซีคือใช้ผงซีเมนต์เป็นหลักจึงไม่สามารถนำวัสดุที่รีไซเคิลมาใช้ได้เหมือนกระเบื้องยางที่ผลิตจากพีวีซีทั้งหมดที่สามารถใช้วัสดุรีไซเคิลได้ จึงทำให้กระเบื้องไวนิลเอสพีซีมีต้นทุนที่สูงกว่านั่นเอง

สุดท้ายนี้การเลือกใช้วัสดุปูพื้นทั้งสามแบบขึ้นอยู่กับความพึงพอใจและอายุการใช้งานของลูกค้าที่ต้องการ บทความนี้เขียนขึ้นเพื่ออธิบายคุณลักษณะและความเป็นมาของพื้นทั้งสามแบบพอสังเขปเท่านั้น
Scroll to Top